ยุทธศาสตร์การพัฒนาคณะศิลปกรรมศาสตร์

ปรัชญา (Philosophy)

ศิลปกรรมศาสตร์นำความรู้สู่การพัฒนา  สร้างรากฐานความเป็นไทย

ปณิธาน (Determination)

มุ่งมั่นจัดการศึกษาวิชาชีพด้านศิลปกรรมศาสตร์ ที่มีคุณภาพด้ายการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

วิสัยทัศน์ (Vision)

          “คณะศิลปกรรมศาสตร์เป็นผู้นำในการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพ และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้านศิลปวัฒนธรรมบนพื้นฐานของเทคโนโลยีนวัตกรรมระดับชาติและนานาชาติ”

พันธกิจ (Mission)

  1. จัดการศึกษาวิชาชีพระดับอุดมศึกษาบนพื้นฐานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างมีคุณภาพรองรับประเทศไทย 4.0

  1. สร้างงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมและงานสร้างสรรค์ สู่การผลิตเชิงพาณิชย์บนพื้นฐานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้  สร้างคุณค่า หรือมูลค่าเพิ่มของ  ผลิตผล  เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

  1. ให้บริการวิชาการที่มีแนวคิดเชิงสร้างสรรค์แก่ชุมชนและพื้นที่เป้าหมาย เพื่อการมีอาชีพอิสระและพัฒนาอาชีพสู่การเพิ่มศักยภาพและยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน

  1. อนุรักษ์ สืบสาน และสร้างสรรค์ เพื่อทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม และ สิ่งแวดล้อม

  1. พัฒนาการบริการทรัพยากรมนุษย์เข้าสู่สังคมแห่งการเปลี่ยนแปลงให้สนองต่อยุทธศาสตร์ชาติและสิทธิประโยชน์บนพื้นฐานความสุขและความก้าวหน้าในวิชาชีพ

  1. จัดระบบบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและแนวทางการจัดหารายได้เอื้อต่อนโยบายหลักและพึ่งพาตนเองรวมทั้งพัฒนางานเพื่อเข้าสู่ระดับชาติและนานาชาติ

ค่านิยมองค์กร (Core values)

คิดอย่างสร้างสรรค์ ซื่อสัตย์และรับผิดชอบ มุ่งเน้นคุณภาพ เพื่อพัฒนาองค์กร

วัฒนธรรมองค์กร (Corporate Culture)

วัฒนธรรมมุ่งผลงาน (Result  Based  Culture)

วัฒนธรรมความร่วมมือ (Collaborative Culture)

วัฒนธรรมสมรรถนะ (Competency Culture)

วัฒนธรรมมุ่งเรียนรู้และปรับตัว (Learning & Adaptive Culture)

อัตลักษณ์ (Identity)

“บัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพ”

เอกลักษณ์ (Uniqueness)

“คณะนักปฏิบัติมืออาชีพบนพื้นฐานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม”

ประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Issue)

1. การผลิตและพัฒนากำลังคนด้านวิชาชีพและเทคโนโลยีชั้นสูงรองรับยุทธศาสตร์ชาติ

2. การพัฒนางานวิจัย และนวัตกรรม เพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ

3. การพัฒนาความเป็นนานาชาติ

4 .การพัฒนางานบริการวิชาการเพื่อตอบสนองคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนของชุมชน และเศรษฐกิจเมืองใหม่

5. การอนุรักษ์ สืบสาน ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และสิ่งแวดล้อม

6. พัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพและพัฒนาศักยภาพองค์กรรองรับการเป็นมหาวิทยาลัย 4.0 และมหาวิทยาลัยในกำกับพร้อมก้าวสู่ความเป็นระดับชาติและนานาชาติ

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์คณะศิลปกรรมศาสตร์

ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพ (Hands-on)  ที่มีความรู้ ทักษะวิชาชีพ ทักษะสังคม (Soft skills) และประสบการณ์ในการทำงานจริง โดยการร่วมมือกับสถานศึกษา สถานประกอบการ ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับในวงการวิชาชีพ สมาคมวิชาชีพ บนพื้นฐานของการพัฒนาอาจารย์ หลักสูตร การบริหารหลักสูตรและห้องปฏิบัติการ

บัณฑิตนักปฏิบัติ หมายถึง  บัณฑิตที่มีสมรรถนะตามสาขาวิชาชีพ “คิดเป็น ทำเป็น สร้างเป็น แก้ปัญหาเป็น สื่อสารเป็น และใช้เทคโนโลยีได้เหมาะสมกับวิชาชีพ”