ประวัติความเป็นมา

               คณะศิลปกรรมศาสตร์ มีหน้าที่รับผิดชอบจัดการศึกษาสายศิลปกรรมในระดับปริญญาตรี ทำการผลิตทรัพยากรบุคคลทางศิลปกรรมให้สามารถประกอบอาชีพ และดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมของชาติ ก่อตั้งมาตั้งแต่สมัยแรกเริ่ม แห่งการสถาปนา เมื่อวันที่  27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2518 ในนามของ ” วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ” ระยะแรกเริ่มได้อาศัยทำการอยู่ภายในบริเวณวิทยาเขตเพาะช่าง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานนามให้กับ วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ใหม่ว่า  ” สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ” เมื่อ วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2532

             ในปีพุทธศักราช 2534 คณะศิลปกรรมได้ย้ายที่ทำการจากวิทยาเขตเพาะช่าง ถนนตรีเพชร กรุงเทพมหานคร มาตั้งอยู่ที่ศูนย์กลาง สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล  ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ขณะเดียวกันคณะนาฏศิลป์และดุริยางค์ ได้ปรับสถานะจากคณะสมทบในความดูแลของวิทยาลัยนาฏศิลป์ กรุงเทพฯ(วังหน้า) มาเป็นคณะในสังกัดของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และได้ย้ายที่ทำการมาตั้งอยู่ศูนย์กลางสถาบันเทคโนโนยีราชมงคลในปีพุทธศักราช 2542 ต่อมาในปีพุทธศักราช 2548  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้ทรงลงพระปรมาภิไธย พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ.2548  และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548  มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2548 และส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้างของมหาวิทยาลัย โดยรวมคณะศิลปกรรมและคณะนาฏศิลป์และดุริยางค์เข้าด้วยกันภายใต้ชื่อ ” คณะศิลปกรรมศาสตร์ ” มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

อาคารสถานที่

                   จำนวนห้องเรียน                                      31    ห้อง

                   จำนวนห้องปฏิบัติการ                             79    ห้อง

ประกอบด้วย

                              อาคาร  2  ทั้งหมด                           12  ห้อง

                                       –  ห้องเรียนจำนวน                 10  ห้อง

                             อาคาร  3  ทั้งหมด

                                       –  ห้องเรียนจำนวน                   3  ห้อง

                                       –  ห้องปฏิบัติการจำนวน         16  ห้อง

                             อาคาร  4  ทั้งหมด

                                       –  ห้องเรียนจำนวน                    8  ห้อง

                                       –  ห้องปฏิบัติการจำนวน         23  ห้อง

                             อาคาร  5  ทั้งหมด

                                       –  ห้องเรียนจำนวน                    6  ห้อง

                                       –  ห้องปฏิบัติการจำนวน           6  ห้อง

                             อาคารนาฏศิลป์และดุริยางค์         35  ห้อง

                                      –  ห้องเรียนจำนวน                   9  ห้อง

                                      –  ห้องปฏิบัติการจำนวน           26  ห้อง